Home » ไทยได้สิทธิ์เจ้าภาพพืชสวนโลกปี 2569 พร้อมเนรมิตอุดรธานี พื้นที่ 1,030 ไร่ กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศโชว์ศักยภาพพืชสวนไทยสู่สายตาโลก

ไทยได้สิทธิ์เจ้าภาพพืชสวนโลกปี 2569 พร้อมเนรมิตอุดรธานี พื้นที่ 1,030 ไร่ กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศโชว์ศักยภาพพืชสวนไทยสู่สายตาโลก

by nopadoloak
1,271 views

8 มีนาคม 2565 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี และนายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (TCEB หรือ สสปน.) เข้าร่วมการประชุมสมาคมพืชสวนโลก (International Association of Horticultural Producers : AIPH) โดยในวันนี้ AIPH ได้ประกาศการคัดเลือกอย่างเป็นทางการ ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 (ระดับ B) ณ Crowne Plaza Dubai Marina เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ภายใต้แนวคิด Diversity of Life: Connecting people, water and plants for sustainable living (วิถีชีวิตสายน้ำและพืชพรรณ) ระยะเวลาจัดงานระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2569 – 14 มีนาคม 2570 (134 วัน) บริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำหนองแด ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี บนเนื้อที่ 1,030 ไร่ แบ่งเป็น พื้นน้ำ 400 ไร่ และพื้นดิน 630 ไร่ คาดว่าจะทำให้มีจำนวนผู้เข้าชมงานถึง 3.6 ล้านคน โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มเงินสะพัดระหว่างการจัดงานประมาณ 3 หมื่นล้านบาท สามารถเพิ่มมูลค่าการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ประมาณ 20,000 ล้านบาท และสร้างการจ้างงานประมาณ 81,000 อัตรา

สำหรับวัตถุประสงค์ที่ประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานในปี 2569 นี้ คือ

1.เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาด้านพืชสวนของไทยและเป็นเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการและเทคโนโลยีด้านพืชสวนในระดับชาติและระดับนานาชาติ

2.ลดความเหลื่อมล้ำกระจายรายได้ด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศผ่านการจัดงาน

3.ส่งเสริมการพัฒนาและต่อยอดการเกษตรด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีและการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ให้เป็นศูนย์กลางด้านการค้าการลงทุนของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)

4.สร้างจังหวัดอุดรธานีให้เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมด้านการเกษตรของภูมิภาคลุ่มน้ำโขง GMS เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตและการต่อยอดสู่ BCG Model (Bio Economy, Circular Economy, Green Economy).

You may also like

About Us

สื่อที่มุ่งเน้นข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ เป็นกลาง เพื่อให้ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ

@2022 – All Right Reserved. Designed and Developed byu00a0PenciDesign